Chang’e-6 กับตัวอย่างหินบะซอลต์จากด้านไกลที่เก่าแก่ถึง 2.83 พันล้านปี

ภารกิจ Chang’e-6 ในเดือน มิถุนายน 2024 ที่สร้างความฮือฮาในวงการวิทยาศาสตร์โลก ได้เดินทางสู่ดวงจันทร์และเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ด้านไกล ซึ่งเป็นดินแดนที่ยังไม่มีใครได้สำรวจอย่างลึกซึ้งมาก่อน จุดหมายปลายทางของ Chang’e-6 คือพื้นที่แอ่ง South Pole-Aitken (SPA) บริเวณด้านไกลของดวงจันทร์ ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามีประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาอันซับซ้อนและแตกต่างจากด้านใกล้ที่หันหน้ามาสู่โลกเสมอ South Pole-Aitken (SPA) คือแอ่งขนาดใหญ่บนดวงจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณขั้วใต้และครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของด้านไกลของดวงจันทร์ (far side of the Moon) แอ่งนี้เป็นหนึ่งในโครงสร้างภูมิประเทศที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดในระบบสุริยะ แอ่ง SPA ไม่ได้เป็นเพียงแอ่งอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุด แต่ยังเป็นพื้นที่ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิวัฒนาการในช่วงต้นของดวงจันทร์ การชนครั้งใหญ่ที่เกิดแอ่ง SPA อาจส่งผลกระทบต่อการกระจายตัวของวัสดุใต้ผิวและเนื้อโลกของดวงจันทร์ ตัวอย่างที่เก็บจากพื้นที่นี้จึงมีบทบาทสำคัญในการเติมเต็มช่องว่างในแบบจำลองลำดับเหตุการณ์ธรณีวิทยาของดวงจันทร์ ความแตกต่างระหว่างด้านใกล้และด้านไกลของดวงจันทร์ ความสำคัญของตัวอย่างเหล่านี้อยู่ที่การช่วยไขปริศนาความไม่สมมาตรของดวงจันทร์ (lunar dichotomy) ด้านใกล้ของดวงจันทร์เต็มไปด้วยพื้นที่มาเร (mare) ที่เกิดจากลาวาภูเขาไฟ แต่ด้านไกลกลับมีพื้นที่มาเรครอบคลุมเพียง 2% ของพื้นผิว รวมถึงมีเปลือกโลกที่หนากว่า ทำให้กิจกรรมภูเขาไฟลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับด้านใกล้ ข้อมูลจากภารกิจ Apollo, Luna และ Chang’e-5 การวิเคราะห์ตัวอย่างที่เก็บโดยภารกิจ Apollo และ […]

WOH G64: ภาพระยะใกล้ครั้งแรกของดาวฤกษ์ยักษ์นอกกาแล็กซี กับช่วงสุดท้ายก่อนการมอดดับ

นี่คือภาพระยะใกล้ภาพแรกของดาวฤกษ์ที่อยู่นอกกาแล็กซีของเรา นี่คือภาพของดาว WOH G64 ที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ Interferometer ขนาดใหญ่มาก ของหอดูดาวยุโรปตอนใต้ (European Southern Observatory’s Very Large Telescope) ซึ่งใช้การรวมข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ 4 ตัวเข้าด้วยกัน ดาว WOH G64 ความสว่างโดดเด่น ภายในลำแสงที่คล้ายรูปไข่ซึ่งเชื่อว่าเป็น “เปลือกหุ้ม” ของแก๊สและฝุ่นที่ดาวปลดปล่อยออกมาเอง นี่ถือเป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวฤกษ์ที่อยู่นอกกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ โดยภาพนี้เผยให้เห็นรายละเอียดของ WOH G64 ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ยักษ์ที่อยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต ดาวยักษ์ที่ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 1,500 เท่า WOH G64 มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราถึง 1,500 เท่า และตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 160,000 ปีแสง ดาวดวงนี้อาศัยอยู่ในกลุ่มเมฆแมเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ซึ่งเป็นกาแล็กซีย่อยที่โคจรรอบทางช้างเผือก ก่อนหน้านี้ การถ่ายภาพ WOH G64 อย่างคมชัดถือเป็นเรื่องแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 100 เมตร แต่ด้วยเทคนิคใหม่ของนักดาราศาสตร์ ที่ได้นำข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ขนาด […]